เมนู

ลักษณะโยนิโสมนสิการ กับลักษณะปัญญา ที่พระผู้เป็นเจ้าวิสัชนามานี้ โยมฟังยังคลางแคลง
อยู่ นิมนต์อุปมาให้แจ้งก่อน
พระนาคเสนจึงถวายพระพรอุปมาว่า มหาราช ดูรานะมหาบพิตรพระราชสมภารผู้
ประเสริฐในศฤงคาร ลักษณะโยนิโสมนสิการกับลักษณะปัญญานี้ ถ้าจะเปรียบเป็นอันเดียว
เหมือนเกี่ยวข้าง ลักษณะชาวนาเกี่ยวข้าวนั้น เขาทำประการใด
อ้อ โยมเข้าใจอยู่
มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในมไหศวรรย์ ชาวนาเกี่ยวข้าวนั้นเขา
ทำอย่างไร
อ้อ ชาวนานั้นเขาเอาเท้าเหยียบต้นข้าวไว้มิให้ขยาย วามหตฺเถน มือซ้ายหน่วงเอา
รวงข้างนั้นมา ทกฺขิณหตฺเถน มือขวาจับเคียวเกี่ยวกระชากให้รวงข้าวขาดติดมือเบื้องซ้าย
ชาวนาทั้งหลายเขากระทำอย่างนี้ โยมรู้อยู่
มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐในสิริมไหศวรรย์ ความนี้ฉันใด มือซ้ายที่ถือรวงข้างไว้
ได้แก่โยนิโสมนสิการอันมีลักษณะถือเอา มือขวาที่ถือเคียวเกี่ยวรวงข้างตัดกระชากให้ขาดนั้น
ได้แก่ปัญญาอันมีลักษณะตัดให้ขาด ด้วยประการดังนี้
พระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้ฟังพระนาคเสนอุปมาก็ทรงพระปรีชาชื่นชม ตรัสว่า
พระผู้เป็นเจ้าอุปมานี้ กลฺโลสิ สมควรนักหนา สาธุสัตบุรุษผู้มีศรัทธาพึงเข้าใจเถิดว่า บุคคลที่
ไม่เกิดอีกนั้นคือพระอรหันตขีณาสพ ท่านไม่เกิดอีก คือท่านเข้านิพพาน
มนสิการลักขณปัญหา คำรบ 8 จบเท่านี้

สีลปติฏฐายลักขณปัญหา ที่ 9


ลำดับนั้นมา บรมกษัตริย์มีพระราชปุจฉาถามซึ่งอรรถปัญหาสืบต่อไปว่า ลักษณะที่จะ
ได้พระนิพพานไม่เกิดอีกนี้อาศัยเหตุอย่างไร
พระนาคเสนแก้ว่า ขอถวายพระพร บุคคลที่ไม่เกิดใหม่ไปพระนิพพานนั้นด้วยเหตุ 3
ประการ คือกุศลอันหนึ่งได้แก่บารมีสร้างมานั้นแก่กล้าวอย่าง 1 มีมนสิการอุตสาหะยึดหน่วงถือ